วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงธนบุรี



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ เรียกอีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น มีกล่าวไว้ในหนังสือ อภินิหารบรรพบุรุษว่า พระองค์ท่านเป็นบุตรชาวจีนนายอากรบ่อนเบี้ย ชื่อ นายไหฮอง แซ่แต้ มารดาชื่อนางนกเอี้ยง (พระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย์)สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 1096 ตรงกับ วันที่ 17 เมษายน 2277 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแต่เดิมมีบ้านเรือนอยู่ใกล้กับ บ้านของเจ้าพระยาจักรีในสมัยนั้น เจ้าพระยาจักรีได้ขอบุตรชายของนายไหฮองไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม นับตั้งแต่รับบุตรของนายไหฮองมาเลี้ยงไว้ เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีก็มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยลาภยศเงินทองมากขึ้นกว่าแต่เดิมเป็นอย่างมาก จึงตั้งชื่อบุตรบุญธรรมว่า "สิน"

กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าเข้ารื้อเผาทำลายเมือง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ 2310 พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ขุนนางและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ถูกจับเป็นเชลยกลับไปเมืองพม่า ราชอาณาจักรอยุธยาที่เคยรุ่งเรืองที่สุด ในภูมิภาคก็ล่มสลาย ทุกหัวระแหงมีกลุ่มโจรปล้นสะดม มีการรวบรวมช่องสุมผู้คนตั้งเป็นชุมนุมเพื่อป้องกันตัวเองและพวกพ้อง

เนื่องจากเห็นว่าอยุธยาได้กลายเป็นเมืองเก่าที่ไร้ประโยชน์แล้ว มีแต่ก๊กที่เมืองจันทบุรีของพระยาตากสิน เพียง ก๊กเดียวเท่านั้น ที่แสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจน ตั้งแต่เริ่มแรกในการที่จะกลับมาพลิกฟื้นพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่เมื่อกองทัพพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยานั้นพระยาตากสินซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากถูกเรียกระดมพลเข้ามาป้องกันพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ 2308 พระยาตากสินได้สู้รบกับกองทัพพม่าและได้รับชัยชนะหลายครั้ง ดังที่ได้กล่าวแล้ว ถึงความเสื่อมโทรม ภายในราชอาณาจักรหลายประการ ที่ทำให้พระยาตากสินเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาไม่สามารถที่จะรอดพ้นเงื้อมมือกองทัพพม่าอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนเวลาที่กรุงศรีอยุธยา จะเสียเอกราชแก่พม่าประมาณ สามเดือนพระยาตากสินพร้อมกับนายทหารหัวเมืองที่ร่วมรบมาด้วยกันประมาณ 500 คน ได้ยกกำลังตีฝ่าทัพพม่าไปทางทิศตะวันออก มุ่งหน้าไปสู่หัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกซึ่งกองทัพพม่าไม่สามารถเข้าไปรุกรานได้ ในที่สุด เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว กองกำลังของพระยาตากสินก็ยึดเมืองจันทบุรีเป็นที่ตั้งและรวบรวมกำลังผู้คนจากเมืองใกล้เคียง ทั้งโดยวิธีเกลี้ยกล่อม และการใช้กำลังเข้าปราบปราม ในช่วงเวลานั้น มีข้าราชการกรุงศรีอยุธยาได้เข้ามาร่วมด้วย คนสำคัญ คือนายสุดจินดา(บุญมา) มหาดเล็กหุ้มแพร ซึ่งภายหลังคือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีเมื่อพระยาตากสินสามารถรวบรวมกำลังคน สะสมอาวุธ และต่อเรือ ที่เมืองจันทบุรีได้มากพอแล้ว เมื่อสิ้นฤดูฝน จึงได้ยกกองทัพไปยังอยุธยา และรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ที่มีสุกี้คุมกำลังอยู่ได้ สุกี้ตายในที่รบ พระยาตากสินจึงยึดกรุงศรีอยุธยาที่เหลือแต่ซากปรักหักพังคืนมาได้ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาตกเป็นของพม่านาน 7 เดือน พระยาตากสินเห็นว่า ยังไม่มีกำลังเพียงพอที่จะบูรณะ และรักษาเมืองหลวงเก่าแห่งนี้ได้ จึงรวบรวมผู้คนกลับไปตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี





พระยาตากสินทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษาทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 อันเป็นการ แสดงเจตนารมณ์สืบพระสมมติวงศ์แห่งกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา โดยพระนาม แต่คนทั่วไปนิยมขนานนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช





ีการปกครองสมัยกรุงธนบุรี
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี
ีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
1. กรมเมือง (นครบาล)มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี)มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ
4. กรมนา (เกษตราธิการ)มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง
การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี
หัวเมืองประเทศราช
เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช



แบบทดสอบหลังเรียน